เทคโนโลยีสมัยใหม่กับรูปแบบของการเก็บรักษาผักและผลไม้

การเก็บรักษาผลิตผลให้มีคุณภาพใกล้เคียงกับคุณภาพก่อนการเก็บรักษานั้น ต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆให้เหมาะสมกับพืชชนิดนั้นๆ

การเก็บรักษาในห้องเย็น (Cold Storage)

การเก็บรักษาในห้องเย็นเป็นการปรับปัจจัยทางด้านอุณหภูมิเพื่อให้ผลิตผลมีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด ในขณะเดียวกันอุณหภูมิที่เย็นยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เข้าทำลายผลผลิตนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในกรณีนี้ได้แก่อุณหภูมิ ทั้งนี้เพราะอุณหภูมิมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆภายในผลิตผล ดังนั้นกรเก็บรักษาผลิตผลทุกชนิดจึงควรเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิต่ำ ในระดับที่เหมาะสมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผลิตผล

การเก็บรักษาโดยการควบคุมสภาพของบรรยากาศ (Controlled Atmosphere Storage – CA Storage)

โดยปกติอากาศมีแก๊สออกซิเจนประมาณ 20% แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 0.03% ที่เหลือคือแก๊สไนโตรเจน การลดปริมาณแก๊สออกซิเจนและ/หรือเพิ่มปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศรอบๆผลิตผล มีผลทั้งในการชะลอหรือเร่งการเน่าเสียของผลิตผล ทั้งนี้จะก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสียนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของผลิตผล พันธุ์ อายุ ระดับของแก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ อุณหภูมิ และระยะเวลาในการเก็บรักษา สำหรับผลิตผลที่สามารถใช้เทคโนโลยีนี้ได้แล้วในปัจจุบัน ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง โดยเก็บรักษาในบรรยากาศควบคุมที่มีแก๊สออกซิเจน 10% และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 10% ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาจาก 7 วัน ออกไปได้มากกว่า 2 สัปดาห์ ทำให้สามารถขนส่งทางเรือไปยังประเทศญี่ปุ่นได้

การใช้สารเคลือบผิว

ผักและผลไม้ตามธรรมชาติมีไข (wax) ปกคลุมผิวด้านนอก โดยประโยชน์ของไข คือ ป้องกันการสูญเสียน้ำ แต่ไขเหล่านี้มักจะถูกชะล้างออกไปในกระบวนการเตรียมผลิตผลก่อนจำหน่าย ทำให้เกิดความเสียหายกับผลิตผล ทั้งในแง่ความทนทานต่อสภาพการเก็บรัษาและความสวยงามในการวางจำหน่าย

การใช้โอโซน

โอโซนที่ความเข้มข้นต่ำๆสามารถใช้ในการเก็บรักษาผักและผลไม้ที่เก็บรักษาในห้องเย็นได้ โดยสามารถป้องกันการเจริญของเชื้อรา และแบคทีเรียในอากาศที่สัมผัสกับผิวของผลิตผลและยังสามารถทำลายจุลินทรีย์ที่ผิวของผลิตผลได้ มีการศึกษาการใช้โอโซนในการเก็บรักษาผักและในการเก็บรักษาผักและผลไม้หลายชนิด เช่น แอปเปิ้ล มันฝรั่ง มะเขือเทศ สตรอเบอรี่ บรอคโคลี แพร์ ส้ม พีช องุ่น ข้าวโพด และถั่วเหลือง แต่สิ่งที่สำคัญคือโอโซนสามารถใช้ในห้องเย็นที่ใช้เก็บรักษาผักและผลไม้เพื่อป้องกันการสุกโดยโอโซนจะไปลดการผลิตแก๊สเอทิลีนที่ผักและผลไม้ผลิตขึ้นและมีผลทำให้ผักและผลไม้สุกหรือเน่าเสียช้าลง

การใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์

สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นสารที่ใช้กันมากในการควบคุมการเกิดสีน้ำตาลในผักและผลไม้เนื่องจากไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Polyphenol oxidase (PPO) นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติในการฟอกสีและยังสามารถควบคุมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์อีกด้วย เทคโนโลยีนี้จำเป็นสำหรับลำไยและลิ้นจี่ที่จะส่งออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ สำหรับลิ้นจี่เมื่อรมด้วยสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์แล้วจะทำให้เปลือกมีสีแดงซีดลง จึงต้องนำไปแช่ในสารละลายกรด เพื่อให้เปลือกมีสีแดงดังเดิม

การใช้ฟิล์มบรรจุภัณฑ์

ฟิล์มเหมาะสมกับการยืดอายุผลิตผลจะต้องมีคุณสมบัติสามารถดัดแปลงสภาพบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ให้เป็นสภาวะสมดุล (Equilibrium Modified Atmosphere / EMA) ซึ่งเป็นหลักการหนึ่งของเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็ฯเทคโนโลยีการรักษาความสดและถนอมอาหาร โดยฟิล์มที่เหมาะสมต้องสามารถชะลอการหายใจ การคายน้ำ และการเสื่อมสภาพของผลิตผล ทำให้ยืดอายุการเก็บรักษาได้นานกว่าเดิม 2-5 เท่า โดยรสชาติ กลิ่น และคุณค่าทางโภชนาการไม่เปลี่ยนแปลง

ฟิล์มบรรจุภัณฑ์ยืดอายุผักและผลไม้ที่พัฒนาด้วยนาโนเทคโนโลยี

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศกสิกรรมสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สังเกตได้จากความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธรรมชาติ ที่ใช้ประโยชน์ได้ทั้งเป็นของกินและของใช้ ซึ่งผักและผลไม้สดก็ถือเป็นผลผลิตสำคัญตัวหนึ่งที่เราผลิตได้ นอกจากนี้ยังเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศเสมอมา

อย่างไรก็ดี ภูมิอากาศเขตร้อนของบ้านเราก็ได้สร้างปัญหาให้กับพืชผลเหล่านี้ไม่น้อยเลย เนื่องจากผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้จะมีอายุสั้น เก็บไว้ได้ไม่นาน จึงทำให้มีระยะเวลาขนส่งและวางขายเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น หลายครั้งเราจึงต้องสูญเสียผลผลิตการเกษตรระหว่างการขนส่งเป็นจำนวนมาก ถือเป็นทางตันที่แก้ไขได้ยากที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับอุตสาหกรรมการส่งออกพืชผลทางการเกษตรของไทย

เนื่องมาจากเราไม่สามารถเก็บรักษาหรือยืดอายุผักและผลไม้ของเราให้ได้นานเท่าที่ต้องการได้นั่นเอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เราไม่สามารถส่งผลผลิตสดๆ ไปยังประเทศที่อยู่ห่างไกลได้ด้วยเงื่อนไขด้านเวลา ในปี 2542 พวกเธอจึงได้เริ่มพัฒนาฟิล์มบรรจุภัณฑ์ที่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้สดขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีระดับโมเลกุลหรือระดับนาโนควบคุมโครงสร้างของวัสดุ เพื่อปรับเปลี่ยนคุณสมบัติให้ฟิล์มดังกล่าวมีคุณสมบัติพิเศษกว่าบรรจุภัณฑ์ทั่วไปคือ ยอมให้ก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แพร่ผ่านได้

“ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาเรื่องเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อย่างเป็นระบบ ไม่มีงานวิจัยใดที่มุ่งเน้นการสร้างเทคโนโลยีวัสดุเพื่อใช้พัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตผลสดเขตร้อนในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งเมื่อ 20 ปีมานี้ อุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารในประเทศก็เริ่มนำฟิล์มพลาสติกมาใช้เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์บ้างแล้ว แต่ฟิล์มพวกนี้ก็มีข้อจำกัดมาก เพราะสกัดกั้นไม่ให้ก๊าซแพร่ผ่านได้ จึงไม่เหมาะแก่การใช้งาน โดยฟิล์มที่เหมาะสมกับการเก็บรักษาผลผลิตการเกษตรที่เราต้องการจะต้องยอมให้ก๊าซออกซิเจนแพร่ผ่านได้สูง ทำให้มีปริมาณก๊าซในบรรจุภัณฑ์ในปริมาณที่เหมาะสม ชะลอการหายใจ และการคายน้ำของผลผลิตได้ ”

“ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการส่งออกผลิตผลเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงเช่น ผักผลไม้ตามฤดูกาล รวมทั้งดอกไม้สด จึงจำเป็นต้องนำเข้าฟิล์มที่ให้ออกซิเจนเข้าออกได้สูงมาจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพงกว่าฟิล์มทั่วๆ ไป 10-20 เท่า อีกทั้งยังเป็นฟิล์มที่เหมาะกับพืชเมืองหนาวโดยเฉพาะ จึงไม่เหมาะสำหรับผลผลิตในเขตร้อน เราจึงเสียเปรียบในเชิงการแข่งขันมาก”

“ฟิล์มที่เหมาะสมกับการยืดอายุผลผลิตจะต้องมีคุณสมบัติสามารถดัดแปลงสภาพบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ให้เป็นสภาวะสมดุล (Equilibrium Modified Atmosphere /EMA) ซึ่งเป็นหลักการหนึ่งในกลุ่มเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์แบบแอคทีฟ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีการรักษาความสดและถนอมอาหารแห่งศตวรรษที่ 21 มีผลต่อการชะลอการหายใจ การคายน้ำ และการเสื่อมสภาพของผลผลิต สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้นานกว่าเดิม 2-5 เท่า โดยรสชาติ กลิ่น และคุณค่าทางโภชนาการไม่เปลี่ยนแปลง”

เทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ให้ผัก-ผลไม้เก็บไว้ได้นาน


ประเทศไทย ได้ขึ้นชื่อว่ามีผลไม้ และผักสดที่สำคัญ ต่อความต้องการ ของพลเมืองโลก ยกตัวอย่าง ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ มังคุด ราชินีแห่งผลไม้ นอกจากนี้ยังมีกล้วยหอม ลิ้นจี่ สับปะรดเงาะ และผัก เช่นหน่อไม้ฝรั่ง กระเจี้ยบขาว มะนาวข้าวโพด ฯลฯ เวลา 7 เดือน ช่วงระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนกันยายนของทุกปี เป็นช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกัน ทำให้ผลไม้และผักมีราคาถูก ผู้บริโภคหารับประทานง่าย แต่เกษตรกรต้องคิดหนักถึงต้นทุนการผลิตที่คิดคำนวณแล้ว จะไม่คุ้มค่ากับการลงทุนลงแรงในการประกอบอาชีพ

รัฐบาลต้องออกมารับประกันราคากันแทบอยู่ทุกปี
ปัญหาเรื่องคุณภาพในระหว่างการส่งออกก็เป็นปัจจัยหนึ่ง หากส่งออกทางเครื่องบินจะรวดเร็วแต่เสียค่าใช้จ่ายสูง ถ้าส่งทางเรือจะช้าแต่ราคาถูก จึงได้คิดค้นวิธีการยืดอายุผลไม้และผักให้เก็บรักษาไว้ได้นานวันขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้จำหน่าย หากมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหา คณะนักวิจัยได้ค้นคว้าวิจัยจนพบวิธีการนำเทคโนโลยี มาใช้ยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้และผักเป็นผลสำเร็จแล้วจำนวน 10 ชนิด ได้แก่ มังคุด เก็บรักษาไว้นานกว่า 35 วัน กล้วยหอมเก็บรักษาได้ 70 วัน กล้วยไข่ 40 วัน หน่อไม้ฝรั่ง 30 วัน กระเจี๊ยบเขียว 40 วัน ข้าวโพดฝักอ่อน 25 วัน มะนาว 60 วัน ลิ้นจี่ 18 วัน สับปะรด 30 วันและเงาะ เก็บรักษาได้ 15 วัน

หลักการที่ใช้ยืดอายุ คือการควบคุมขบวน การเปลี่ยนแปลงผลผลิต ที่นำไปสู่ความเสื่อมสลาย โดยการควบคุมอัตราการหายใจ ของผลผลิต หลังการเก็บเกี่ยวให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ก็จะยืดอายุได้นาน ส่วนการจัดการปัจจัยภายนอก ให้เหมาะสม ได้แก่ 1.ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม ผลผลิตแต่ละชนิด 2.ควบคุมความชื้น ภายในภาชนะบรรจุไม่ให้เกิดหยดน้ำ 3.ควบคุม+ป้องกันการเข้าทำลาย ของโรคและแมลง 4.ควบคุมปริมาณก๊าซเอทธิลีน ที่ผลผลิตสร้างขึ้นภายใน ภาชนะบรรจุไม่ให้มีปริมาณมาก เพราะสามารถทำความเสียหายให้กับผลผลิตได้ 5.จัดบรรยากาศแวดล้อมผลผลิตสด ภายหลังการบรรจุครั้งแรกให้เหมาะสม แล้วปล่อยให้มีการปรับสภาพ ภายในภาชนะบรรจุเองด้วยตัวของผลผลิตเอง

ผลประโยชน์ของการเก็บรักษาผักและผลไม้ดังที่กล่าวมา มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำมากๆ สามารถส่งไปจำหน่ายได้ทั่วทุกมุมโลก ง่ายต่อการปฏิบัติและไม่มีสารปนเปื้อน เนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมี ขณะนี้ได้ขยายวงเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมแล้ว โดยมีผู้สนับสนุนเป็นภาคเอกชนเข้าร่วมจัดทำโรงงานต้นแบบ

งานนี้เพื่อให้เกษตรกรได้เห็นถึงความสำคัญของวิธีการเก็บรักษาผลผลิต ผลักดันให้เกิดราคาผลผลิตที่สูงขึ้น อันจะนำไปสู่เทคโนโลยีการส่งออกต่อไปในอนาคต

การเลือกผักและผลไม้ในการรับประทานและคุณประโยชน์ของผักผลไม้ของแต่ละสี

ผักผลไม้มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างยิ่ง มีเส้นใยอาหารที่ช่วยในระบบทางเดินอาหาร และระบบขับถ่าย เป็นแหล่งของวิตามินและเกลือแร่ ช่วยป้องกันและบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ แถมยังช่วยบำรุงผิวพรรณ แต่ผักผลไม้นั้นมีมากมายหลายชนิด ตลอดจนมีการแปรรูปออกมาในหลากหลายรูปแบบ หลายคนคงสงสัยว่า คุณประโยชน์ต่างๆ ของผักผลไม้แต่ละชนิด แต่ละรูปแบบ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ผักผลไม้สีต่างๆ มีประโยชน์เหมือนหรือต่างกันอย่างไรสีสันในผักผลไม้มาจากสารเคมีตามธรรมชาติที่แตกต่างกันไป เช่นผักผลไม้สีส้ม สีเหลือง เช่น แครอท ฟักทอง และผักใบเขียวเข้ม เช่น ตำลึง คะน้า ผักบุ้ง บร็อกโคลี จะมีเบต้าแคโรทีนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการก่อมะเร็ง นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณผักผลไม้สีแดง เช่น มะเขือเทศ แตงโม มะละกอสุก จะมีไลโคปีนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้เช่นกัน และยังช่วยลดคอเลสเตอรอลตัวร้ายได้อีกด้วยผักผลไม้สีเหลือง และผักใบเขียวเข้ม เช่น ข้าวโพด ผักกาด คะน้า ปวยเล้ง ผักโขม จะมีลูทีนและซีแซนทินซึ่งช่วยบำรุงสายตาและป้องกันความเสื่อมของดวงตาผักผลไม้สีม่วง เช่น ดอกอัญชัน กะหล่ำม่วง มะเขือม่วง เบอร์รีชนิดต่างๆ จะมีแอนโทไซยานินซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือด และช่วยต้านการอักเสบ

สารสำคัญในผักผลไม้ชนิดต่างๆ ทำงานออกฤทธิ์ส่งเสริมเกื้อหนุนกัน จึงไม่มีชนิดใดดีที่สุด การรับประทานให้หลากหลาย สลับสับเปลี่ยนกันไปในแต่ละวัน อย่าให้ซ้ำซากจำเจจะดีที่สุดน้ำผักผลไม้ไม่มีกากใยเหมือนกับผักผลไม้สดๆ กากใยช่วยให้เรารู้สึกอิ่ม ช่วยขัดขวางการดูดซึมไขมันและคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันโรคอ้วน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ดีต่อระบบการขับถ่าย ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ริดสีดวงทวาร และลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้รับประทานผักผลไม้สด ก็อาจจะดื่มน้ำผักผลไม้เสริม โดยควรจะคั้นเอง ดีกว่าซื้อน้ำผักผลไม้สำเร็จรูปซึ่งจะมีปริมาณน้ำตาลสูง น้ำผักผลไม้ที่คั้นเองยังสะอาดปลอดภัยกว่าซื้อนอกบ้านอีกด้วย

สาระน่ารู้พืชผักและผลไม้ เพื่อสุขภาพพลานามัยที่ดีของคุณสาวๆ


เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ผักและผลไม้ คือ อาหารที่จำเป็นทั้งต่อมนุษย์และสัตว์ หรืออาจจะรวมไปถึงสิ่งมีชีวิตทุกอย่างบนโลกก็ไม่น่าจะผิดแต่อย่างใด เนื่องจากพืชเองก็สามารถใช้ผักและผลไม้ นำไปเป็นอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตของมันได้ โดยการย่อยสลายของจุลินทรีย์ และผ่านขบวนการการสังเคราะห์แสง เพื่อแปรสภาพเป็นธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อส่วนต่างๆ ของพืชในการดำรงชีวิตต่อไป สำหรับประโยชน์ที่มีต่อมนุษย์แล้ว คงจะไม่มีใครปฏิเสธคุณค่าอันมหาศาลของผักและผลไม้ได้เป็นแน่ ถ้าจะมีก็อาจจะเป็นกลุ่มคนที่นิยมเฉพาะอาหารที่เน้นเพียงรสชาติเท่านั้น และไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องสุขภาพของตัวเองเท่าใดนัก หรือถ้าจะห่วงสุขภาพของตัวเองบ้าง ก็มักจะหันไปพึ่งการรับประทานวิตามิน หรืออาหารเสริม ซึ่งมีราคาแพงมากกว่าแทน เพราะอาจจะคิดแค่เพียงว่าของแพงเท่านั้น จึงจะมีประโยชน์และมีคุณค่ามากที่สุด

ปัจจุบันนี้ มีนักวิจัยจากหลายหน่วยงาน ที่ให้ความสนใจและได้ทำการวิจัยประโยชน์ของผักและผลไม้กันมากขึ้น ทำให้ประชาชนอย่างเราๆ ได้มีโอกาสรู้ว่าผักและผลไม้ที่รับประทานกันอยู่ทุกวันนี้มีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ซึ่งประโยชน์ของผักและผลไม้ที่ได้มีการศึกษาเอาไว้นั้น ก็พบว่านอกจากจะมีประโยชน์ในด้านของโภชนาการชั้นยอดแล้ว บางชนิดยังสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรเพื่อบำบัดและรักษาโรคบางชนิดได้อีกด้วย เช่น โรคมะเร็ง หัวใจ ตาฝ้าฟาง เหน็บชา แผลอักเสบ ร้อนใน ไข้หวัด เป็นต้น แต่ก็ยังมีหลายท่านที่คงสงสัยอยู่ว่า ผักและผลไม้นั้นจะสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้จริงหรือ สำหรับคำตอบที่ยืนยันได้ว่าผักและผลไม้สามารถบำบัดและรักษาโรคได้ คือ

ประการแรก ผักและผลไม้ให้พลังงานต่ำ เพราะมีไขมันน้อยมาก ผักและผลไม้หลายชนิดไม่มีไขมันเลย หากกินผักและผลไม้เพิ่มขึ้นแทนอาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือไขมันย่อมได้พลังงานน้อยกว่า โอกาสที่จะมีน้ำหนักเพิ่มจนเป็นโรคอ้วนจึงน้อยกว่า โรคอ้วนเป็นอัตราเสี่ยงที่สำคัญของโรคมะเร็งและโรคหัวใจ

ประการที่สอง ผักและผลไม้ไม่มีโคเลสเตอรอล การกินโคเลสเตอรอลมากเกินไปอาจทำให้ไขมันพอกหลอดเลือดจนตีบตันอันเป็นสาเหตุให้ความดันโลหิตสูงและเป็นโรคหัวใจ ดังนั้น การเลือกรับประทานผักและผลไม้จึงทำให้ไม่ต้องคอยกังวลในเรื่องของโคเลสเตอรอล

สารพัดประโยชน์ของสารอาหารสำคัญในพืช ผักและผลไม้

พืช ผักและผลไม้ เป็นแหล่งของอาหารที่สำคัญที่ร่างกายควรจะได้รับ

คือ วิตามินและแร่ธาตุ และพบว่า วิตามินซี และเบตาแคโรทีน ซึ่งมีมากในผลไม้ประเภทส้ม ผักใบเขียว ผลไม้สีเขียว-เหลือง มีส่วนป้องกันไขมันไปเกาะที่ผนังของเส้นเลือดและป้องกันมะเร็งได้ ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ทั้งพืชผักและผลไม้ตลอดทั้งปี สามารถจะเลือกกินได้และมีราคาไม่แพงมากนัก การส่งเสริมให้กินพืชผักและผลไม้เป็นประจำจึงเท่ากับเป็นการป้องกันการเกิดโรคแทนการรักษาเมื่อเป็นโรค ซึ่งเท่ากับเป็นการลดค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพได้ทางหนึ่ง

การรับประทานผักและผลไม้ดีต่อสุขภาพอย่างมาก เพราะนอกจากจะมีทั้งวิตามินและเกลือแร่ ซึ่งมีส่วนสำคัญช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายแล้ว ในผักแต่ละชนิดยังมีสีสันที่แตกต่างกันไปชวนให้ยิ่งน่ารับประทานมากขึ้น ซึ่งสีสันสดใสไม่ว่าจะเป็นแดง เขียว ส้ม ม่วง ขาว เหล่านี้นี่แหละคือสารอาหารสำคัญในการสร้างภูมิต้านทานโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย

ควรรับประทานผักผลไม้ให้ได้ทุกมื้อทุกวัน

เทคนิคง่ายๆที่ช่วยไม่ให้การรับประทานผักกลายเป็นเรื่องจืดชืดจำเจ คือการสร้างสรรค์เมนูผักตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นผัดผัก ต้มแกง ผักจิ้มน้ำพริก เครื่องเคียงในอาหารยำ สลัดผักผลไม้ โดยเลือกผักผลไม้ชนิดต่างๆให้หลากหลาย ผู้ที่ชื่นชอบผักผลไม้เป็นพิเศษอาจจะหั่นผสมลงไปในข้าว กับข้าว หรือเครื่องดื่ม รับประทานผลไม้เป็นอาหารว่างแทนขนมขบเคี้ยว ดื่มน้ำผักหรือน้ำผลไม้คั้นเองสักวันละแก้ว หรือแม้แต่หันมากินข้าวกล้องแทนข้าวขาว ก็เพิ่มคุณค่าให้กับมื้ออาหารได้ไม่น้อย

สีสันในผักผลไม้มาจากสารเคมีตามธรรมชาติที่แตกต่างกัน

– ผักผลไม้สีส้ม สีเหลือง เช่น แครอท ฟักทอง และผักใบเขียวเข้ม เช่น ตำลึง คะน้า ผักบุ้ง บร็อกโคลี จะมีเบต้าแคโรทีนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการก่อมะเร็ง นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ

– ผักผลไม้สีแดง เช่น มะเขือเทศ แตงโม มะละกอสุก จะมีไลโคปีนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้เช่นกัน และยังช่วยลดคอเลสเตอรอลตัวร้ายได้อีกด้วย

– ผักผลไม้สีเหลือง และผักใบเขียวเข้ม เช่น ข้าวโพด ผักกาด คะน้า ปวยเล้ง ผักโขม จะมีลูทีนและซีแซนทินซึ่งช่วยบำรุงสายตาและป้องกันความเสื่อมของดวงตา

– ผักผลไม้สีม่วง เช่น ดอกอัญชัน กะหล่ำม่วง มะเขือม่วง เบอร์รีชนิดต่างๆ จะมีแอนโทไซยานินซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือด และช่วยต้านการอักเสบ